ศาสนาพุทธ
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ซึ่งในปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศไทยได้ผสมผสานเข้ากับความเชื่อพื้นบ้าน อย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ การถือฤกษ์ นอกจากนี้จำนวนประชากรชาวไทย-จีนขนาดใหญ่ที่อพยพเข้ามาในประเทศก็นับถือทั้งศาสนาพุทธและประเพณีดั้งเดิม[19] วัดพุทธในประเทศมีเอกลักษณ์ที่เจดีย์สีทองสูง และสถาปัตยกรรมพุทธในประเทศไทยคล้ายคลึงกับในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาและลาว ซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน
ศาสนาอิสลาม
ชาวมุสลิมเป็นประชากรขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศไทย[19][10] ในบริเวณสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาและชุมพร มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประกอบด้วยทั้งผู้ที่มีเชื้อสายไทยและมาเลย์ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าประชากรชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่มากที่สุดบริเวณนี้
อย่างไรก็ตามการวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ว่า ชาวไทยมุสลิมเพียงร้อยละ 18 อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ส่วนที่เหลือได้อาศัยอยู่กระจายกันไปทั่วประเทศ โดยมีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด และตลอดภาคใต้ของประเทศ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2548 ชาวมุสลิมในภาคใต้ของประเทศคิดเป็นประชากรร้อยละ 30.4 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ในขณะที่มุสลิมในส่วนอื่นของประเทศกลับมีน้อยกว่าร้อยละ 3[ต้องการอ้างอิง]
ประชากรมุสลิมของไทยมีความหลากหลายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีกลุ่มเชื้อชาติอพยพเข้ามาจากจีน ปากีสถาน กัมพูชา บังกลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับชาวไทย ขณะที่มุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสายมาเลย์
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์มีประวัติศาสตร์ยาวนานในประเทศไทย ถูกนำเข้ามาเผยแผ่โดยมิชชันนารียุโรปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1550 ศาสนาคริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถาบันสังคม การศึกษา สาธารณสุข และเทคโนโลยี[20] ปัจจุบันประเทศไทยมีคริสต์ศาสนิกชนอาศัยอยู่ตามภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทุกทั่วจังหวัดในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 824,693 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2871% ของประชากร 64,076,033 คน โดยแบ่งเป็น 3 นิกายต่าง ๆ ดังนี้ โปรเตสแตนต์จำนวน 444,446 คน[21] (0.6936%) โรมันคาทอลิก 379,347 คน[22] (0.592%) และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จำนวนหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น